วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551

lamella granules

corneocytes 

corneocytes

-จะมีเฉพาะ keratin filament และ matrix protein อยู่ในเซลล์เท่านั้น โดยมีโปรตีน และไขมันอยู่ที่ cell membrane จะไม่มี nucleus หรือ organells อื่นๆ
-หลังจากนี้ corneocytes ก็จะลอกหลุดออกไปกลาย เป็นขี้ไคล (keratin)
-ขบวนการนี้เรียกว่า keratinization หากมีความผิดปกติของขบวนการนี้ ก็ทำให้เกิด โรคผิวหนังได้เช่นกลุ่มโรค ichthyosis

Pemphigus vulgaris

Pemphigus vulgaris







----- ภาพกำลังขยายต่ำจะเห็นลักษณะของ intraepithelial vesicular formation โดยมีการแยกตัวของเซลล์เยื่อบุผิวเกิดขึ้นเฉพาะภายใน spinous cell layer (ซึ่งเรียกว่า acantholysis โดยที่ basal cell layer ยังคงอยู่ติดกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

basal cells

BASAL CELLS


- รูปร่างเซลล์เป็น columnar-shaped มี nucleus ขนาดใหญ่
- keratin filaments ในชั้นนี้จะมีขนาดเล็กบาง จับกลุ่มอยู่รอบๆ nucleus และไปยึดติดกับ desmosome ซึ่งเป็นตัวยึดระหว่าง basal cells ไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังไปยึดติดกับ hemidesmosome ซึ่งเป็นตัวยึดระหว่าง basal cell กับ dermis ข้างล่าง
- เซลล์มีความสามารถใน การแบ่งตัวสูงและตลอดเวลา
- เซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นจะดันเซลล์เก่าให้อยู่ชั้นเหนือขึ้นไป มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดของเซลล์ จนกระทั่งถึงชั้นบนสุดกลายเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว (ขี้ไคล)


- ระยะเวลาที่ basal cell แบ่งตัวให้กำเนิด keratonocytes ผ่านขบวนการ keratinization จนสมบูรณ์กลายเป็น corneocyte ใช้เวลาประมาณ 14 วัน และระยะเวลาที่ corneocytes หลุดลอกออกไปกลายเป็นขี้ไคล (keratin) หมด ใช้เวลาอีกประมาณ 14 วัน ดังนั้นชั้น Basal Layer จะผลิตเซลล์ผิวใหม่อยู่ตลอดเวลา และผลักดันขึ้นมาบนผิวแล้วหลุดลอกใช้เวลาประมาณ 28 วัน เมื่อ basal cell แบ่งตัวให้ กำเนิด keratinocyte และเคลื่อนที่ออกมาชั้นบนกว่ากลายเป็นชั้นที่มีชื่อเรียกว่า Stratum spinosum ต่อไป

Merkel cells


MERKEL CELLS


- เป็น Dendritic cell ที่พบอยู่บริเวณชั้น Basal cell layer พบในบางบริเวณของร่างกาย
- มี desmosome ยึดติดกับเซลล์ข้างเคียง nucleus มีรอยเว้ามาก ส่วนใน cytoplasm จะบรรจุกลุ่มของ filament อยู่รอบๆ nucleus และขอบๆ ของเซลล์ (perinuclear filament protein)
- แต่ลักษณะที่สำคัญ ที่สุดคือพบ neurosecretory granule อยู่ภายใน cytoplasm มีหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัส (high tactile sensitivity) เมื่อรับ stimuli มาจาก keratinocyte แล้ว Merkel cells จะปล่อยสารพวก cathecolamine ที่บรรจุอยู่ใน neurosecretory granules ออกมาซึ่งเป็น neurotransmitter ชนิดหนึ่ง

-Merkel cells จะพบเฉพาะบางบริเวณที่รับสัมผัส (high tactile sensitivity) เท่านั้น ได้แก่ บริเวณ ปลายนิ้ว (digits), ริมฝีปาก (lips), ในช่องปาก (regions of oral cavity) และบริเวณ outer root sheath of hair follicles

Langerhans cells

LANGERHANS CELLS


- เป็น Dendritic cells พบอยู่ในชั้น Stratum spinosum โดยแทรกอยู่ระหว่าง keratinocyte
- สิ่งที่แตกต่างจาก keratinocytes และ Merkel cells คือ จะไม่พบ desmosome, melanosome และ tonofilament ในcytoplasm ของ Langerhans cell
- หน้าที่ของเซลล์ชนิดนี้เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง (skin immune system) โดยเป็นเซลล์ที่มีบทบาท เกี่ยวกับ allergic contact dermatitis และ cell-mediated reaction (Delayed type hypersensitivity) ของผิวหนัง

Melanocytes

Melanocytes

-อยู่ที่ผิวหนัง ในชั้น epidermis ,ใน hair follicle และใน dermis โดยแทรกอยู่ระหว่าง basal cell โดยประมาณ 8-10 basal cells จะพบ melanocyte อยู่ 1 ตัว
-ภายใน melanocyte มีเม็ดสี (melanin) อยู่ในถุงหุ้มที่เรียกว่า melanosome แล้ว melanocytes จะส่ง melanin ไปให้ keratinocytes ที่อยู่ชั้นบนกว่าผ่านไปทาง dendritic processes ทำให้เกิดเป็นสีผิวหนังขึ้น (skin color) ซึ่งจะพบว่าจำนวนของ melanin ใน cytoplasm ของ keratinocytes มีปริมาณมากกว่าจำนวน melanin ใน melanocytes ข้างเคียง





Melanocyte เป็นเซลล์ที่สร้างเม็ดสี พบที่ผิวหนัง cytoplasm มีแขนงจำนวนมาก ภายในบรรจุ granules ที่เรียกว่า melanosomes




Melanocytes มีรูปร่างคล้ายดาว nucleus รูปร่าง กลม และมี melanosome อยู่ภายในเซลล์ Melanosome มีรูปร่างกลม มีถุงหุ้ม (membrane-bound) มีหน้าที่สร้าง melanin
.....ชนิดของ melanin
1.Eumelanin จะทำให้ผิวหรือขนมีสีน้ำตาลดำ (Brown/Black)
2.Pheomelanin จะทำให้ผิวหรือขนมีสีเหลืองแดง (Red/Brond)
โดยพันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดขนาดของ melanosome และคนผิวดำจะมี melanosomes ขนาดใหญ่กว่าคนผิวขาว


Epidermal-melanin unit

...หมายถึง จำนวน melanocyte 1 ตัว จะส่ง melanin ไปให้ยัง keratinocytes อยู่ข้างเคียงประมาณ 36 ตัว ผ่านทาง Dendritic processes ซึ่งจะเห็นว่าคนต่างเชื้อชาติสีผิวจะมี จำนวน epidermal metanin units ในปริมาณใกล้เคียงกัน ส่วนจำนวน melanocytes จะแตกต่างกัน ในแต่ละบริเวณของร่างกาย จะหนาแน่นมากที่สุดบริเวณอวัยวะเพศ, รองลงมาคือบริเวณใบหน้าและศีรษะ ส่วนบริเวณอื่นๆ นั้น ถ้าเป็นตำแหน่งที่โดนแสงแดดเป็นประจำ (sun-exposure areas) ก็จะมีจำนวน melanocytes มากกว่า


สีผิวหนัง (skin color) แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. Constitutive skin color คือ สีผิวที่เป็นมาตั้งแต่เกิด โดยมีพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด และไม่มีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้อง นั่นคือสีผิวของทารกแรกเกิด แต่ในผู้ใหญ่สามารถดูสีผิวชนิดนี้ได้บริเวณก้น (Buttock) หรือบริเวณที่ไม่ได้โดนแสงแดดเป็นประจำ
2. Facultative skin color คือ สีผิวที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีปัจจัยเหล่านี้มากระตุ้น คือ แสงแดด, ฮอร์โมน alpha melanocyte-stimulating hormone (MSH), sex-hormone, inflammatory mediators, การตั้งครรภ์,วิตามิน D3 ที่สร้างภายใน epidermis มากระตุ้น และ Tanning capacity ของคนแต่ละเชื้อชาติ ตัวอย่างเช่น สีผิวบริเวณแขนด้านนอกจะเข้มข้นกว่าตอนแรกเกิด เนื่องจาก โดนแสงแดด, สีผิวบริเวณลานหัวนม (areoalr) และหัวนม (nipple) จะดำขึ้นหลังจากตั้งครรภ์, หรือสีผิวบริเวณที่เคยเป็นสิวอักเสบหลังจากสิวหายแล้วทิ้งรอยดำไว้ เป็นต้น


ปัจจัยเหล่านี้จะกระตุ้นให้มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นของ melanocyte

melanocyte จะมี dendritic processes เพิ่มมากขึ้น, มีการสร้าง melanin เพิ่มมากขึ้น (melanogenesis) และมีการส่ง melanin ไปให้ keratinocytes เพิ่มมากขึ้น


---สีผิวของมนุษย์ จะขึ้นอยู่กับขนาด, ชนิด, จำนวนของ melanosome, จำนวน melanin ใน keratinocytes และความสามารถของ melanocytes ในการผลิต melanin (Melanogenesis)

นอกจากนี้สีผิวยังอาจเปลี่ยนแปลงได้จากอิทธิพลของสิ่งต่อไปนี้ คือ

1.สีเหลืองของผิวหนัง เกิดจากสาร carotene pigment มาสะสมที่ผิวหนังมากกว่าปกติ เนื่องจากมีการสะสมในชั้น subcutaneous fat ในคนที่กิน มะละกอมากเกินปกติ หรือคนที่ป่วยเป็นโรคดีซ่าน (jaundice) ก็จะเห็นผิวเป็นสีเหลืองได้
2.สีแดงของผิวหนังเกิดจาก oxyhemoglobin ในเม็ดเลือดแดง
3.สีเขียวคล้ำ, น้ำเงิน เกิดจาก Deoxyhemoglobin ในเส้นเลือดเนื่องจาก hemoglobin มีปริมาณ oxygen ในเลือดน้อย